วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

คลื่นกล


คลื่นกล (Mechanical Wave )


คลื่นกล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลือนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้ ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง เพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง

คำว่าคลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป ในบทนี้จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคลื่นในทางฟิสิกส์



การแบ่งประเภทของคลื่น

1. คลื่นตามขวาง (transverse wave) ลักษณะของอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
คลื่นตามขวาง

2. คลื่นตามยาว (longitudinal wave) ลักษณะอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปมาในแนวเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง



คลื่นตามยาว

ส่วนประกอบของคลื่น

1.สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก จุด g
2.ท้องคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ จุด e
3.แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ วัดจากระดับปกติไปถึงสันคลื่นหรือไปถึงท้องคลื่น สัญลักษณ์ A
4.ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน หรือระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งบนคลื่นที่ที่เฟสตรงกัน(inphase) ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ Lamda มีหน่วยเป็นเมตร (m) ระยะ xy
5.ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz) จาก cd โดย f = 1/T
6.คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็น
วินาทีต่อรอบ (s/รอบ ) โดย T = 1/f
7.หน้าคลื่น(wave front) เป็นแนวเส้นที่ลากผ่านตำแหน่งที่มีเฟสเดียวกันบนคลื่น เช่นลากแนวสันคลื่น หรือลากแนวท้องคลื่น ตามรูป
รูป หน้าคลื่นตรง




รูป หน้าคลื่นวงกลม

รูปแสดงหน้าคลื่นต้องตั้งฉากกับรังสีคลื่นเสมอ
อัตราเร็ว

อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้

1. อัตราเร็วคลื่น หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน

สมการที่ใช้


2. อัตราเร็วของอนุภาคตัวกลาง เป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก โดนสั่นซ้ำรอยเดิมรอบแนวสมดุล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นกลชนิดตามขวางหรือตามยาว

สมการที่ใช้
1.อัตราเร็วที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เป็นศูนย์
2.อัตราเร็วอนุภาคขณะผ่านแนวสมดุล มีอัตราเร็วมากที่สุด


3.อัตราเร็วอนุภาคขณะมีการกระจัด y ใดๆ จากแนวสมดุล



3. อัตราเร็วคลื่นในน้ำ ขึ้นกับความลึกของน้ำ ถ้าให้น้ำลึก d จะได้ความสัมพันธ์

4. อัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก ขึ้นอยู่กับแรงตึงเชือก (T) และค่าคงตัวของเชือก (u) ซึ่งเป็นค่ามวลต่อความยาวเชือก

การศึกษาวีดีโอ :

1. วีดีโอเปรียบเทียบคลื่นตามขวาง กับคลื่นตามยาว

 
 
 
 
 
 

2. คลื่นผิวน้ำ



การเกิดคลื่นและการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก

การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล อนุภาคตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย ซ้ำรอยเดิมรอบจุดสมดุล ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแบบนี้เราจะเขียนแทนการเคลื่อนที่ของคลื่นแบบรูปไซน์ ( sinusoidal wave ) ซึ่งเราสามารถหาค่าปริมาณต่างๆ ได้ ดังนี้
รูปแสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางขณะคลื่นเคลื่อนที่




ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย

1.เป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล
(แอมพลิจูด) คงที่
2.เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล)
3.ณ ตำแหน่งสมดุล x หรือ y = 0 , F = 0 , a = 0 แต่ v มีค่าสูงสุด
4.ณ ตำแหน่งปลาย x หรือ y , F , a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0
5.สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิก



คลื่นรูปไซน์ แสดงการกระจัด y และเฟส


6. กรณีที่มุมเฟสเริ่มต้นไม่เป็นศูนย์ สมการความสัมพันธ์ของการกระจัด ความเร็ว และความเร่ง กับเวลาอาจเขียนได้ว่า
XXXXX1. «math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«mi»X«/mi»«mo»=«/mo»«mi»Acos«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math» XXXXXและXXX«math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«mi»y«/mi»«mo»=«/mo»«mi»Asin«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math»
XXXXX2. «math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«msub»«mi»v«/mi»«mi»x«/mi»«/msub»«mo»=«/mo»«mo»-«/mo»«mi»§#969;Asin«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math»XX และXXX«math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«msub»«mi»v«/mi»«mi»y«/mi»«/msub»«mo»=«/mo»«mi»§#969;Acos«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math»
XXXXX3. «math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«msub»«mi»a«/mi»«mi»x«/mi»«/msub»«mo»=«/mo»«mo»-«/mo»«msup»«mi»§#969;«/mi»«mn»2«/mn»«/msup»«mi»Acos«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math» XและXXX«math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«msub»«mi»a«/mi»«mi»y«/mi»«/msub»«mo»=«/mo»«mo»-«/mo»«msup»«mi»§#969;«/mi»«mn»2«/mn»«/msup»«mi»Asin«/mi»«mfenced»«mrow»«mi»§#969;t«/mi»«mo»+«/mo»«mi»§#934;«/mi»«/mrow»«/mfenced»«/math»
7. การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิกของ สปริง และลูกตุ้มนาฬิกา

8. ลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นขณะเวลาต่างๆ( เมื่อ period หรือ คาบ หมายถึงเวลาครบ 1 รอบ)


9. การบอกตำแหน่งบนคลื่นรูปไซน์ ด้วย เฟส (phase) เป็นการบอกด้วยค่ามุมเป็นเรเดียน หรือองศา



การระบุเฟสด้วยมุมที่เป็นองศาและมุมเรเดียน

เฟสตรงกันบนคลื่น จะห่างจากตำแหน่งแรก 1 Lamda , 2 Lamda , 3 Lamda , .....
เฟสตรงกันข้ามกันบนคลื่น จะห่างจากตำแหน่งแรก 1/2 Lamda , 3/2 Lamda , 5/2 Lamda , ....

ตัวอย่าง



การซ้อนทับกันของคลื่น

เมื่อคลื่น 2 ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น ( Superposition principle) การซ้อนทับกันมี 2 แบบ คือแบบเสริม และแบบหักล้าง

1. การซ้อนทับแบบเสริม เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกัน เข้ามาซ้อนทับกัน เช่น สันคลื่น+ สันคลื่น หรือท้องคลื่น+ท้องคลื่น ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับผลบวกของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง

การซ้อนทับกันของคลื่น แบบเสริม
2. การซ้อนทับแบบหักล้าง เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกันข้าม เข้ามาซ้อนทับกัน เช่น สันคลื่น+ ท้องคลื่น ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดลดลง เท่ากับผลต่างของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง



การซ้อนทับกันของคลื่น แบบหักล้าง

ภาพเคลื่อนไหวการซ้อนทับกันของคลื่นแบบเสริม
 

ปีแสงคืออะไร

 

ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์
1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 × 1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลา
ปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/
 

"ไมเกรน" (Migraine)


เอาชนะโรค "ไมเกรน" โดยไม่ต้องกินยา !?/ โดย ปานเทพ  พัวพงษ์พันธ์  "ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว  ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการปวดที่ไวต่อแสงหรือเสียงก็ได้  อาการปวด หัวแบบ ไมเกรน จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุบๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตา และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเวลาหายปวดจะหายสนิท และบางคนเวลามีอาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด  คนที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้้อ บริเวณบ่า และ มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร (Trigger Point) บริเวณ บ่า ต้นคอ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถเลือดและออกซิเจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังศีรษะได้เต็มที่ เมื่อเลือดไม่สามารถส่งขึ้นไปเลี้ยงที่ศีรษะ 2 ข้างไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการปวดศีรษะข้างเดียว ที่เรียกว่าไมเกรน  คนที่ทำงานในสำนักงาน และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆเป็นประจำ มีโอกาสที่จะเกิด Trigger Point ด้านขวาได้บ่อย และเป็นผลทำให้ปวดหัวไมเกรนซีกขวาได้   คนจำนวนไม่น้อยเลือกหยุดอาการไมเกรนด้วยการับประทานยา ซึ่งแม้จะได้ผลในการปวดครั้งนั้น แต่การทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอยังมีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไตอีกด้วย หลอดเลือดอักเสบ ทำให้เมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจะเกิดอาการปวดอีกด้วย ถ้าใช้ยาประเภทนี้บ่อยๆจะเกิดโรคลูกโซ่ตามมาจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ในวันข้างหน้าแน่นอน  ยาแก้ปวดไมเกรน ทุกชนิดมีผลต่อตับอย่างแต่นอน เมื่อตับทำงานหนักและเสื่อมลง ย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งย่อมให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกหลายโรค  ข้อสำคัญการรับประทานยาแก้ปวดประเภทไมเกรนเป็นประจำ จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในการปวดครั้งๆต่อๆไปมากขึ้น และต้องพึ่งยาที่มากขึ้นหรือแรงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจปวดจนถึงขั้นต้องพึ่งยาฉีดเข้าเส้นเลือดประเภทมอร์ฟีนหรือสเตอรอยด์เข้าไปด้วย  ความจริงแล้วการกินยาเป็นเพียงการรักษาปลายอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ จุดกดเจ็บที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Trigger point ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นกล้ามเนื้อพังผืดเป็นวงกว้างมากขึ้นและหนามากขึ้น จากการรักษาด้วยการพึ่งพายาแก้ปวดไมเกรน และอาการไมเกรนก็จะหนักมากขึ้น และรักษายากขึ้นด้วย  ด้วยเหตุผลนี้คนที่รักษาโรคไมเกรนจำนวนหนึ่ง จึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ Trigger Point ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด  ถ้าจะสังเกตให้ง่ายก็คือจุด Trigger Point จะอยู่บริเวณบ่าเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่นูนออกมา หากกดลงจะมีลักษณะแข็งจึงจำเป็นต้องกดจุดเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงหรือนิ่มลง บางครั้งก้อนที่แข็งมากอาจจำเป็นต้องลงศอกเสียด้วยซ้ำ  โดยเฉพาะการกดค้างศีรษะด้านบนค่อนไปข้างหน้า กดด้านที่ปวดห่างจากเส้นกึ่งกลางมา 1 นิ้ว กดค้างให้ลึก 10 วินาทีต่อครั้งแล้วปล่อยทำหลายๆครั้งจะหยุดได้แบบฉับพลัน แม้ว่าการปวดนั้นจะลามมาถึงการปวดที่เบ้าตาแล้วก็ตาม  นอกจากนี้ หลายคนที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาก็ใช้วิธีอื่น เช่น การราดน้ำศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที, การแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา, การรีบนอนให้เร็วโดยทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ ฯลฯ  ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการหยุดอาการปวดที่ทรมานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ที่กล่าวมาก็ยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงการหยุด"ปลายอาการ" เท่านั้น!!!    เพราะโรคไมเกรนของคนส่วนใหญ่มักไม่ได้เกิดขึ้นในตอนวัยเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมพันธุ์ แต่มักจะเกิดขึ้นเมื่อโตมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายนอก ได้หลายอย่าง เช่น  1.อาหาร พบว่าอาหารหลายชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้มาก  เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อคโกแลต ไวน์แดง เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วบางชนิด กล้วยสุกงอม ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส แอสปาแตม รวมถึงสารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรนได้ด้วย เช่น สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม  คนส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนแล้วงดอาหารที่กล่าวมาข้างต้นมักมีอาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด!  2.       ระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น  3.     สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ (รวมถึงการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน) และอดอาหาร เป็นต้น  4.   การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้  5.   สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น  6.   ยาและสารเคมีบางชนิด ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรน ไซนัส จำนวนมากมีประวัติกินยาแก้อักเสบ ยากแก้แพ้ และ ยาลดน้ำมูกเป็นประจำ จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองส่วนหนึ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ และเกิดจากสภาวะแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขที่ตรงจุดจึงย่อมไม่ใช่การรับประทานยาแก้ปวด แต่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเองน่าจะถูกต้องกว่า  หรือไม่ก็ต้องรู้จักปรับสมดุลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้  แต่หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้และต้องการหายขาด เท่าที่ได้พบเห็นก็ดูเหมือนว่าการรักษายังคงมีอีกหลายวิธีที่เป็นการแพทย์ทางเลือก เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัด, การฝังเข็ม, การดีท็อกซ์, การรับประทานอาหารสมดุลร้อน-เย็น, การล้างพิษตับ, การนั่งสมาธิ ฯลฯ ด้วยพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้โรคปวดหัว ไมเกรนนับวันจะมีคนเป็นมากขึ้น เป็นโรคที่ปวดแล้วทรมาน หากรู้จักแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา ก็จะพบว่าความถี่ในการเกิดโรคไมเกรนจะค่อยๆทิ้งช่วงนานขึ้น ปวดน้อยลง และหายได้ในที่สุด ผมเป็นคนหนึ่งที่ปวดไมเกรนมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี รักษามาแล้วหลายวิธี ใช้ยาแรงมาแล้วก็มาก แต่พึ่งจะหายจากโรคนี้ได้โดยไม่มีอาการแม้แต่วันเดียวในปีนี้ และเป็นปีแรกที่ไม่ต้องอาศัยยาเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ก็ด้วยการใช้แนวทางธรรมชาติบำบัดของชาวสันติอโศกควบคู่ไปกับการหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์  แม้ความจริงจะมีรายละเอียดอยู่มากในการอธิบายเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ขอเขียนอธิบายมาโดยสรุปพอสังเขปให้เหมาะกับพื้นที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ช่วยกันทำบุญแบ่งปันข้อมูลนี้ เพื่อคลายทุกข์ให้กับคนที่ทรมานจากโรคนี้ต่อไป  “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐโดยแท้!!!

"ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว

ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการปวดที่ไวต่อแสงหรือเสียงก็ได้

อาการปวด หัวแบบ ไมเกรน จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุบๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตา และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเวลาหายปวดจะหายสนิท และบางคนเวลามีอาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด

คนที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้้อ บริเวณบ่า และ มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร (Trigger Point) บริเวณ บ่า ต้นคอ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถเลือดและออกซิเจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังศีรษะได้เต็มที่ เมื่อเลือดไม่สามารถส่งขึ้นไปเลี้ยงที่ศีรษะ 2 ข้างไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการปวดศีรษะข้างเดียว ที่เรียกว่าไมเกรน คนที่ทำงานในสำนักงาน และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆเป็นประจำ มีโอกาสที่จะเกิด Trigger Point ด้านขวาได้บ่อย และเป็นผลทำให้ปวดหัวไมเกรนซีกขวาได้

คนจำนวนไม่น้อยเลือกหยุดอาการไมเกรนด้วยการับประทานยา ซึ่งแม้จะได้ผลในการปวดครั้งนั้น แต่การทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอยังมีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไตอีกด้วย หลอดเลือดอักเสบ ทำให้เมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจะเกิดอาการปวดอีกด้วย ถ้าใช้ยาประเภทนี้บ่อยๆจะเกิดโรคลูกโซ่ตามมาจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ในวันข้างหน้าแน่นอน

ยาแก้ปวดไมเกรน ทุกชนิดมีผลต่อตับอย่างแต่นอน เมื่อตับทำงานหนักและเสื่อมลง ย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งย่อมให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกหลายโรค

ข้อสำคัญการรับประทานยาแก้ปวดประเภทไมเกรนเป็นประจำ จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในการปวดครั้งๆต่อๆไปมากขึ้น และต้องพึ่งยาที่มากขึ้นหรือแรงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจปวดจนถึงขั้นต้องพึ่งยาฉีดเข้าเส้นเลือดประเภทมอร์ฟีนหรือสเตอรอยด์เข้าไปด้วย

ความจริงแล้วการกินยาเป็นเพียงการรักษาปลายอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ จุดกดเจ็บที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Trigger point ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นกล้ามเนื้อพังผืดเป็นวงกว้างมากขึ้นและหนามากขึ้น จากการรักษาด้วยการพึ่งพายาแก้ปวดไมเกรน และอาการไมเกรนก็จะหนักมากขึ้น และรักษายากขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลนี้คนที่รักษาโรคไมเกรนจำนวนหนึ่ง จึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ Trigger Point ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด

ถ้าจะสังเกตให้ง่ายก็คือจุด Trigger Point จะอยู่บริเวณบ่าเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่นูนออกมา หากกดลงจะมีลักษณะแข็งจึงจำเป็นต้องกดจุดเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงหรือนิ่มลง บางครั้งก้อนที่แข็งมากอาจจำเป็นต้องลงศอกเสียด้วยซ้ำ

โดยเฉพาะการกดค้างศีรษะด้านบนค่อนไปข้างหน้า กดด้านที่ปวดห่างจากเส้นกึ่งกลางมา 1 นิ้ว กดค้างให้ลึก 10 วินาทีต่อครั้งแล้วปล่อยทำหลายๆครั้งจะหยุดได้แบบฉับพลัน แม้ว่าการปวดนั้นจะลามมาถึงการปวดที่เบ้าตาแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ หลายคนที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาก็ใช้วิธีอื่น เช่น การราดน้ำศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที, การแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา, การรีบนอนให้เร็วโดยทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ ฯลฯ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการหยุดอาการปวดที่ทรมานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ที่กล่าวมาก็ยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงการหยุด"ปลายอาการ" เท่านั้น!!!

เพราะโรคไมเกรนของคนส่วนใหญ่มักไม่ได้เกิดขึ้นในตอนวัยเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมพันธุ์ แต่มักจะเกิดขึ้นเมื่อโตมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายนอก ได้หลายอย่าง เช่น

1.อาหาร พบว่าอาหารหลายชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้มาก เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อคโกแลต ไวน์แดง เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วบางชนิด กล้วยสุกงอม ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส แอสปาแตม รวมถึงสารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรนได้ด้วย เช่น สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม

คนส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนแล้วงดอาหารที่กล่าวมาข้างต้นมักมีอาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด!

2. ระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น

3. สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ (รวมถึงการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน) และอดอาหาร เป็นต้น

4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้

5. สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น

6. ยาและสารเคมีบางชนิด ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรน ไซนัส จำนวนมากมีประวัติกินยาแก้อักเสบ ยากแก้แพ้ และ ยาลดน้ำมูกเป็นประจำ
จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองส่วนหนึ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ และเกิดจากสภาวะแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง

ดังนั้นเมื่อโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขที่ตรงจุดจึงย่อมไม่ใช่การรับประทานยาแก้ปวด แต่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเองน่าจะถูกต้องกว่า

หรือไม่ก็ต้องรู้จักปรับสมดุลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

แต่หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้และต้องการหายขาด เท่าที่ได้พบเห็นก็ดูเหมือนว่าการรักษายังคงมีอีกหลายวิธีที่เป็นการแพทย์ทางเลือก เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัด, การฝังเข็ม, การดีท็อกซ์, การรับประทานอาหารสมดุลร้อน-เย็น, การล้างพิษตับ, การนั่งสมาธิ ฯลฯ
ด้วยพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้โรคปวดหัว ไมเกรนนับวันจะมีคนเป็นมากขึ้น เป็นโรคที่ปวดแล้วทรมาน หากรู้จักแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา ก็จะพบว่าความถี่ในการเกิดโรคไมเกรนจะค่อยๆทิ้งช่วงนานขึ้น ปวดน้อยลง และหายได้ในที่สุด
ผมเป็นคนหนึ่งที่ปวดไมเกรนมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี รักษามาแล้วหลายวิธี ใช้ยาแรงมาแล้วก็มาก แต่พึ่งจะหายจากโรคนี้ได้โดยไม่มีอาการแม้แต่วันเดียวในปีนี้ และเป็นปีแรกที่ไม่ต้องอาศัยยาเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ก็ด้วยการใช้แนวทางธรรมชาติบำบัดของชาวสันติอโศกควบคู่ไปกับการหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์

แม้ความจริงจะมีรายละเอียดอยู่มากในการอธิบายเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ขอเขียนอธิบายมาโดยสรุปพอสังเขปให้เหมาะกับพื้นที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ช่วยกันทำบุญแบ่งปันข้อมูลนี้ เพื่อคลายทุกข์ให้กับคนที่ทรมานจากโรคนี้ต่อไป
เขียนโดย ไพฑูลย์
วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2013

ดาวหางแพนสตาร์ส



“ดาวหางแพนสตาร์ส (C/2011 L4 PANSTARRS)” จะโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8 -17 มี.ค. เข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มี.ค. และสุกสว่างมากที่สุดเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 10 มี.ค. นี้ ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้ขอบฟ้าบริเวณกลุ่มดาวปลา และหากอยู่บริเวณที่ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงรบกวนและไม่มีสิ่งบดบัง จะมีโอกาสเห็นดาวหางแพนสตาร์อยู่บนฟากฟ้าได้ด้วยตาเปล่า หรือหากใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ช่วย ก็จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ดาวหางแพนสตาร์ค้นพบโดยกล้อง Pan-STARRS บนเกาะฮาวาย ในเดือนมิถุนายนปี 55 ปรากฏอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่องมีวงโคจรเป็นแบบไฮเปอร์โบลา จะโคจรมาใกล้โลกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นและจะไม่กลับมาอีก จึงเป็นโอกาสเดียวที่มนุษย์จะได้เห็นดาวหางดวงนี้
ทั้งนี้จากการติดตามการเคลื่อนที่ดาวหางดวงนี้ นักดาราศาสตร์พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดาวหางแพนสตาร์ที่สังเกตได้มีหางฝุ่นสั้นและมีความสว่างปรากฏน้อยมาก จากเดิมที่คาดการณ์ว่าดาวหางแพนสตาร์น่าจะสว่างพอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยง่าย แต่ปัจจุบันเมื่อดาวหางเข้าใกล้โลกมากขึ้น ได้มีการศึกษาและคำนวนค่าความสว่างปรากฏแล้วพบว่าอาจมีความสว่างไม่มากเท่า ที่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี หากพลาดชมดาวหางแพนสตาร์สเยือนโลก ในเดือนพย.ยังมีปรากฎการณ์ดาวหางใกล้โลกครั้งสำคัญ มาให้ชมอีกครั้ง โดยเป็น ดาวหางที่ชื่อว่า ไอซอน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อเดือน ก.ย. 55 ที่ผ่านมา และเป็นดาวหางที่นักดาราศาสตร์ตื่นเต้นมาก เพราะจัดอยู่ในกลุ่มดาวหางที่เฉียดหรือใกล้ดวงอาทิตย์มาก คือห่างประมาณ 1.9 ล้านกิโลเมตร และห่างจากผิวดวงอาทิตย์เพียง 1.2 ล้านกิโลเมตร ทำให้คาดว่าจะเป็นดาวหางที่สว่างมากสุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา หากไม่เกิดการแตกหรือสูญสลายไปเสียก่อนเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก ๆ จากการคำนวณของนักดาราศาสตร์ คาดว่าดาวหางไอซอน จะใกล้ดวงอาทิตย์และสว่างที่สุดในวันที่ 28-29 พ.ย. และอาจสุกสว่างใกล้เคียงกับดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว ทั้งนี้ดาวหางไอซอนจะใกล้โลกที่สุดราววันที่ 26-27 ธ.ค. โดยห่างจากโลกประมาณ 64 ล้านกิโลเมตร

alt

พายุฤดูร้อน

สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน
พายุฤดูร้อนก่อตัวจากเมฆคิวมูลัสก่อน เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุ
ฟ้าคะนองในบรรยากาศต้องมีเงื่อนไข คือ
- อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
- อากาศไม่มีเสถียรภาพ(ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ คือ อากาศมีการลอยตัวขึ้น)
- มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน
ในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยตอนบนจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม
ทำให้มีอุณหภูมิสูงและได้รับความชื้นจากลมตะวันออกเฉียงใต้ หรือลมใต้ซึ่งพัดจากอ่าวไทย ขณะเดียวกันถ้ามีบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนซึ่งเป็นมวลอากาศเย็น หรือบางครั้งมีคลื่น
กระแสลมตะวันตกจากประเทศพม่าเคลื่อนมาเสริม จะก่อให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นจาก
ประเทศจีนและมวลอากาศร้อนชื้นที่ปกคลุมประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เกิดการยกตัวของอากาศขึ้น
อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง หรืออาจมีลูกเห็บตกมาด้้วย ประเทศไทยตอนบนจึงมีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้มาก ส่วนภาคใต้ก็มีโอกาสเกิดได้แต่น้อย
ลักษณะอากาศก่อนเกิดพายุฤดูร้อน
- อากาศร้อนมาหลายวัน และในวันที่จะเกิดพายุฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น
- ลมสงบ
- ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยไม่ดี
- มีเมฆทวีมากบึ้นในท้องฟ้า ลักษณะที่ฝนจะตกมีมากขึ้น
- ลมเริ่มพัดแรงขึ้นในทิศทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นลมกระโชกเป็นครั้งคราว
- เมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว และมีฟ้าแลบ และมีฟ้าคะนองในระยะไกล
ความรุนแรงและผลกระทบที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ความรุนแรงของพายุเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกันความรุนแรงนี้จะปรากฎออกมาในลักษณะของพายุลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก ผลกระทบมีดังนี้
- แผ่นป้ายโฆษณาและต้นไม้ยักโค่นล้ม
- บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย กระเบื้องหลังคาหลุดปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน
-
ฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- มีลูกเห็บตกได้ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงๆ
- ขณะเกิดจะมีฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้คนและสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
แนวทางป้องกัน

พายุฤดูร้อนเป็นภัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือควบคุมไม่ให้รุนแรงได้ แต่ก็พอมีวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงและบรรเทาความเสียหายหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- ติดตามข่าว และการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่อาจเกิดพายุฤดูร้อน
- ขณะเกิดพายุ หากอยู่ในอาคารบ้านเรือนให้ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย
- หากอยู่กลางแจ้งให้รีบหลบเข้าในอาคารหรือที่กำบังที่มั่นคง แข็งแรง เพื่อไม่ให้กิ่งไม้ ต้นไม้หัก หรือเศษวัสดุ สิ่งของปลิวใส่เป็นอันตราย และห้ามอยู่ใต้ต้นไม้สูง หรือใต้เสาไฟฟ้า หรือมีโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดงซึ่งเป็นสื่อล่อฟ้าอยู่กับตัว เพราะอาจถูกฟ้าผ่าได้
- สำหรับเกษตรกร ชาวสวน ควรหาไม้ค้ำยันกิ่งต้นไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่กำลังติดผลอ่อน จะช่วยลดความเสียหายลงไ้ด้
- สำหรับเขตเมืองที่มักมีการติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ควรระมัดระวัง เรื่องความแข็งแรง
คงทนของป้ายดังกล่าว เพราะพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกปี ในช่วงระหว่างกลางเดืิือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

การเกิดลูกเห็บ
ลูกเห็บ เกิดขึ้นภายในเมฆพายุฟ้าคะนองเป็นเมฆก่อตัวแนวตั้งขนาดใหญ่ เมฆคิวมูโลนิมบัส เกิดขึ้น
เมื่ออากาศชื้นมีการยกตัวขึ้น อุณหภูมิอากาศเย็นลงตามความสูงจนกระทั้งอุณหภูมิอากาศเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วกลั่นตัวจนเป็นหยดน้ำ อากาศยังคงมีการลอยตัวสูงขึ้น อุณหภูมิอากาศยังคงเย็นต่อไปอีกจนกระทั่งอุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และเย็นต่อไปอีกจนกระทั่งหยดน้ำในเมฆกลายเป็นน้ำแข็งเม็ดน้ำแข็งอาจตกลงมาเนื่องจากน้ำหนัก แต่อากาศข้างล่างที่ยังคงมีการลอยตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ก้อนน้ำแข็งเล็กๆ กลับลอยขึ้นไปอีกรวมกับก้อนน้ำแข็งที่อยู่ภายในเมฆเกิดเป็นก้อนน้ำแข็งใหญ่ขึ้นในลักษณะการพอก แล้วตกลงมาเนื่องจากน้ำหนักและกลับลอยขึ้นไปอีก เกิดการพอกทำให้เม็ดน้ำแข็งนี้ใหญ่ขึ้นอีกเป็นลักษณะเช่นนี้จนกระทั่งอากาศข้างล่างที่ลอยขึ้นนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักของก้อนแข็งได้ ก้อนน้ำแข็งจึงตกลงสู่พื้นดินเป็น "ลูกเห็บ"

“สตีเฟน ฮอว์คิง”

“สตีเฟน ฮอว์คิง” ผู้รอดชีวิตท้าความตายมา 50 ปี




ในขณะที่ “สตีเฟน ฮอว์กิง” มีชื่อเสียงจากการถอดรหัสความลึกลับของจักรวาล การมีชีวิตรอดมาถึง 50 ปีของเขาก็เป็นปริศนาสำหรับวงการแพทย์ เพราะโรคที่ทำให้เขาต้องกลายเป็นอัจฉริยะร่างพิการนี้มักจะคร่าชีวิตผู้ป่วยเพียงไม่นานหลังแพทย์วินิจฉัยพบ

ก่อนวันเกิดปีที่ 21 ไม่นาน “สตีเฟน ฮอว์กิง” (Stephen Hawking) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ของอังกฤษ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนอ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าโรคลู เกห์ริก (Lou Gehrig's disease) ซึ่งในสหราชอาณาจักรเรียกโรคนี้ว่าโรคประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor Neurone Disease) ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตหลังจากได้รับการวินิจฉัยเพียงไม่กี่ปี แต่เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมาเขาเพิ่งมีอายุครบ 70 ปี

“ผมไม่เคยรู้จักใครที่รอดชีวิตมาได้นานขนาดนี้” เอพีระบุความเห็นของ อัมมาร์ อัล-ชาลาบิ (Ammar Al-Chalabi) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและดูแลผู้ป่วยโรคประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวบกพร่อง (Motor Neurone Disease Care and Research Centre ) ของมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน (King's College London) แม้ว่าเขาไม่ได้บำบัดดูแลฮอว์กิง หากแต่ได้ให้ความเห็นว่าการมีชีวิตอันยืนยาวดังกล่าวเป็นเรื่อง “ไม่ธรรมดา”

“มันไม่ใช่เรื่องปกตินักสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ที่มีชีวิตรอดมานานหลายทศวรรษ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก” ดร.รัพ แทนแดน (Dr.Rup Tandan) ศาสตราจารย์ประสาทวิทยาของวิทยาลัยแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ (University of Vermont College of Medicine) กล่าว โดยเอพีระบุว่าผู้ป่วยที่มีอายุยืนยาวตามที่แทนแดนกล่าวนั้นอยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ หากแต่ฮอว์กิงไม่ได้ใช้เครื่องดังกล่าว

“ผมโชคดีที่อาการป่วยของผมเป็นไปอย่างช้าๆ กว่ากรณีปกติ แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าคนเราอย่าได้สูญเสียความหวัง ผมมักจะได้รับคำถามบ่อยๆ ว่า “คุณรู้สึกอย่างไรบ้างที่เป็นโรคเอแอลเอส?” คำตอบก็คือ ไม่เท่าไร ผมพยายามจะใช้ชีวิตให้ปกติเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่คิดถึงอาการป่วยของตัวเอง หรือไม่นึกเสียดายถึงสิ่งที่ขัดขวางผมในการได้ทำโน่นทำนี่ ซึ่งก็ไม่ได้มากมายนัก” บีบีซีนิวส์รายงานความเห็นของฮอว์กิง

เมื่อได้รับการวินิจฉัยในช่วงต้นๆ อาการของฮอว์กิงยังไม่รุนแรงนัก โดยมีอาการซุ่มซ่ามเล็กน้อย และมีอาการสะดุดกับล้มอย่างไม่สามารถอธิบายได้เพียงไม่กี่ครั้ง หากแต่โดยธรรมชาติของโรคแล้วอาการป่วยจะทรุดลงเรื่อยๆ โดยไม่มีทางรักษา ซึ่งการวินิจฉัยดังกล่าวสร้างความตกใจอย่างยิ่ง แต่ก็ได้ช่วยในการวางแผนกรอบอนาคตของเขา



แม้ว่าตอนนั้นจะมีเมฆหมอกบดบังอนาคตของผม แต่ผมก็พบสิ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่ตัวเองนั่นคือผมมีความสุขในชีวิตขณะปัจจุบันมากกว่าที่ผ่านมา ผมเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้งานวิจัยของตัวเอง และได้หมั้นหมายกับผู้หญิงที่ชื่อ เจน ไวล์ด (Jane Wilde) คนที่ผมได้พบในช่วงที่ได้รับการวินิจฉัยอาการป่วย การหมั้นหมายดังกล่าวได้เปลี่ยนชีวิตของผม และให้บางสิ่งที่ผมจะมีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งนั้น” ฮอว์กิงกล่าว

บีบีซีนิวส์ระบุอีกว่า ตอนนี้แพทย์ยังคงอยู่ในความมืดมนว่าอะไรคือสาเหตุของโรคประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่เท่าที่ทราบคือ 5% ของผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถส่งต่อความผิดปกติจากคนรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้

ในปี 1974 ฮอว์กิงและเจนซึ่งมีลูกด้วยกัน 3 คนได้จัดการดูแลอาการป่วยจากโรคเอเอสแอลด้วยวิธีของพวกเขาเอง ในตอนนั้นเขายังคงกินอาหารเองได้ ตื่นและเข้านอนได้ด้วยตัวเอง แม้ว่าการเดินเป็นระยะทางไกลจะทำไม่ได้แล้ว แต่เมื่อหลายๆ อย่างเริ่มลำบากมากขึ้น และกล้ามเนื้อที่ไม่ทำงานก็ทำให้เขาล้มบ่อยขึ้น ฮอว์กิงและภรรยาจึงตัดสินใจรับนักศึกษามาอยู่ด้วยเพื่อช่วยดูแลธุระต่างๆ ภายในบ้าน โดยแลกกับการให้พักในบ้านและสอนหนังสือให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เป็นที่แน่ชัดว่าฮอว์กิงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ และเขาต้องใช้ชีวิตหลังตื่นนอนทั้งหมดบนรถเข็น และในปี 1985 เขาก็มีอาการแทรกซ้อนมากขึ้นเมื่อป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ (pneumonia) ทำให้เขาต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โดยบีบีซีนิวส์ระบุว่าโรคเอเอสแอลทำให้ปอดของเขาอ่อนแอลง และต้องต่อสู้กับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวอยู่บ่อยครั้ง

เพื่อช่วยเหลือฮอว์กิงจากการหายใจที่ลำบาก เขาจึงต้องได้รับการศัลยกรรมเจาะคอเพื่อใส่ท่อเข้าไปแทนหลอดลม ซึ่งการรักษาดังกล่าวประสบความสำเร็จ แต่ก็ทำให้เขาไม่มีเสียงที่จะสื่อสารกับคนอื่น ในช่วงหนึ่งเขาสื่อสารด้วยวิธีกระพริบตาเลือกอักษรทีละตัวเมื่อมีใครชี้ไปยังตัวอักษรที่เขาต้องการเพื่อสะกดออกมาเป็นคำ หลังจากนั้น วอลท์ วอลทอสซ์ (Walt Waltosz) ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์จากแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ซึ่งได้ยินเรื่องราวของฮอว์กิงก็ได้ส่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขาเขียนขึ้นเองมาให้ใช้คู่กับเครื่องสังเคราะห์เสียง

เอพีระบุว่าตอนนี้มีวิธีเดียวที่เขาจะสื่อกับคนอื่นได้นั่นคือการกระตุกแก้มข้างขวา โดยต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และเครื่องสังเคราะห์เสียงเพื่อช่วยในการพูด ซึ่งเซนเซอร์แสงอินฟราเรดขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่บนแว่นตาของเขาจะเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ จากนั้นเซนเซอร์จะตรวจวัดการกระตุกของแก้มซึ่งเป็นการเลือกคำที่แสดงอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นคำที่ถูกเลือกก็จะถูกสังเคราะห์ออกมาเป็นเสียง ฮอว์กิงต้องใช้เวลา 10 นาทีเพื่อสร้างคำพูด 1 ประโยค

“ปัญหาเดียวของเครื่องสังเคราะห์เสียงคือมันทำให้ผมมีสำเนียงอเมริกัน” ฮอว์กิงระบุในเว็บไซต์ส่วนตัวของเขา และเครื่องสังเคราะห์เสียงนี้ช่วยให้เขาเขียนหนังสือเล่มใหม่คือ “The Grand Design” ด้วยเวลาถึง 4 ปี แต่ก็เลยกำหนดเวลาตีพิมพ์หนังสือของสำนักพิมพ์

ด้าน จูดิธ ครอสเดลล์ (Judith Croasdell) ผู้ช่วยส่วนตัวของฮอว์กิงบอกเอพีว่าเจ้านายของเธอเป็นผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา โดยวิธีที่เขาสื่อสารนั้นอาจจะช้าเกินทนสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่นั่นก็ไม่ใช่อุปสรรคกีดกวางความคิดของเขา ซึ่งหลังจากอยู่โรงพยาบาลในช่วงสั้นๆ ฮอว์กิงบอกกับเธอว่า เขาใช้เวลาคิดเรื่องหลุมดำ โดยเจ้านายของเธอจะเข้าที่ทำงานหลังอาหารเช้ามื้อใหญ่และการอ่านข่าว แม้ว่าฮอว์กิงจะไม่ใช่คนไปทำงานเช้า แต่ก็ทำงานเลิกดึก 1-2 ทุ่มป็นประจำ

ครั้งแรกที่ฮอว์กิงได้รับความสนใจอย่างมากคือเมื่อปี 1988 ที่เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ประวัติย่อของกาลเวลา” (A Brief History of Time) ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับเอกภพอย่างง่ายๆ และหนังสือดังกล่าวได้ตีพิมพ์ไปทั่วโลกกว่า 10 ล้านเล่ม และทฤษฎีของเขาในเวลาต่อมาก็ได้ปฏิวัติความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับหลุมดำและทฤษฎีบิกแบง (Big Bang) ซึ่งอธิบายกำเนิดเอกภพ

เพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ฮอว์กิงทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จึงได้จัดประชุมสัมมนาที่เปิดกว้างแก่สาธารณะในหัวข้อ “แถลงการณ์แห่งเอกภพ” (The State of the Universe) ซึ่งนอกจากฮอว์กิงเองแล้วยังมีนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำคนอื่นๆ อีกรวม 27 คนที่จะแสดงปาฐกถาในงานดังกล่าว แต่ปรากฏว่าในวันนั้นเขามีสุขภาพย่ำแย่เกินกว่าจะร่วมงานได้

ฮอว์กิงรับตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคัสเซียน (Lucusian) ทางด้านคณิตศาสตร์ที่เคมบริดจ์ยาวนานถึง 30 ปี และเกษียณจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อปี 2009 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) ก็ได้รับตำแหน่งเดียวกันนี้ ปัจจุบันฮอว์กิงเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยที่ศูนย์จักรวิทยาเชิงทฤษฎีของเคมบริดจ์ ซึ่งเขาประสบความสำเร็จทั้งหมดนี้ด้วยสภาพร่างกายที่เกือบจะเป็นอัมพาตทั้งตัว

สำหรับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสนี้จะเข้าจู่โจมประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะจะทุกข์ทรมานจากอาการอ่อนแรงและการสูญเสียกล้ามเนื้อ จากนั้นกลายเป็นอัมพาต และมีปัญหาในการพูด การกลืนอาหารและการหายใจ โดยมีผู้ป่วยโรคนี้เพียง 10% ที่มีชีวิตอยู่นานกว่า 10 ปี

ใครที่ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยเหมือนที่ฮอว์กิงเป็น ก็มีโอกาสมากกว่าที่จะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า โดยคนส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จะมีอายุอยู่ในช่วง 50-70 ปี โดยคาดว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ 2-5 ปีหลังมีอาการพูดไม่ชัด กลืนอาหารได้ลำบากและกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่ครอสเดลล์กล่าวว่า แพทย์ประจำตัวของฮอว์กิงไม่ให้ความเห็นถึงอาการของฮอว์กิงแก่สื่อ

อาจจะมีบางสาเหตุที่ทำให้อาการของฮอว์กิงเลวลงช้ากว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ในโรคเดียวกัน โดยทาง อัล-ชาลาบิ และคณะกำลังวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอจากฮอว์กิงเปรียบเทียบกับผู้ป่วยรายอื่น เพื่อดูว่ามีบางอย่างที่จำเพาะสำหรับโรคของเขาหรืออาจมีการกลายพันธุ์ใดๆ ที่จะอธิบายได้ถึงการมีชีวิตอยู่ที่ยืนนาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้

ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่าลักษณะการดูแลที่ฮอว์กิงได้รับ ซึ่งรวมถึงการดูแลตลอด 24 ชั่วโมงนั้นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขามีอายุที่ยาวนานขึ้น โดยในมุมของ เวอร์จิเนีย ลี (Virginia Lee) ผู้เชี่ยวชาญโรคทางสมองจากคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเพนน์ซิลวาเนีย (University of Pennsylvania) สหรัฐฯ ระบุว่า บางที่อาการของโรคอาจจะคงที่และการดูแลอย่างที่ฮอว์กิงได้รับอาจจะเป็นปัจจัยให้เขามีชีวิตรอด และการยังคงความกระตือรือร้นทางปัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าฮอว์กิงมีความกระตือรือร้นดังกล่าว

“เขาคือคนที่น่าทึ่งจริงๆ เขาคือคนที่รู้จักจัดการหาวิธีรับมือกับทุกปัญหาที่โรครุมเร้า” อัลชาลาบิกล่าว และบอกว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคลูเกห์ริกนี้จะเสียชีวิตหลังจากกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจหยุดทำงาน แต่เขาก็ไม่มีคำพยากรณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่ฮอว์กิงจะได้รับในอนาคต







สตีเฟน ฮอว์กิ้งกับคำถามสำคัญของเอกภพ


INFO: http://www.manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000006696

ที่สุดดดยอดดดดด ของโลก (Smartest people)

โฉมหน้า 10 อันดับ อัจฉริยะที่มีไอคิวสูงสุดในโลก


 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nedhardy.com
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 เว็บไซต์ฮัฟฟิงตันโพสต์ ได้เปิดเผย 10 รายชื่อของเหล่าอัจฉริยะรอบโลกที่มีความฉลาดเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ และประสบความสำเร็จมาได้อย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว มนุษย์เราจะมีไอคิวอยู่ที่ 90 - 110 แต่สำหรับอัจฉริยะเหล่านี้แน่นอนว่าไอคิวของเขาไม่ธรรมดาแน่ แต่จะสูงแค่ไหน และเก่งในเรื่องใด ลองมาดูทั้ง 10 คนกันเลย (ไม่เรียงลำดับมากน้อย)
 

1. สตีเฟน ฮอว์คิง วัย 70 ปี (IQ: 160)
สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ฮอว์คิงเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อมถอย หรือที่เรียกว่า ALS อันเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป จนกระทั่งมีชื่อเสียงจากการถอดรหัสความลึกลับของจักรวาล จากบทความวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์ของเวลา โดยเขาได้ทำนายว่าเวลาน่าจะมีจุดเริ่มต้นที่บิ๊กแบง (หรือจุดกำเนิดของเอกภพ) และมีจุดจบที่ใจกลางของหลุมดำ อีกทั้งยังมีผลงานหนังสือ ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์


 
2. คิม อึง ยอง วัย 50 ปี (IQ: 210)

คิม อึง ยอง อาจจะถือได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดในโลก การันตีโดยกินเนสส์บุ๊คเลยก็ว่าได้ เพราะคิมสามารถอ่านภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน และอังกฤษ ได้ตั้งแต่ 4 ขวบ และเมื่อถึงวันเกิดครบ 5 ขวบ เขาก็สามารถแก้โจทย์แคลคูลัสที่ซับซ้อนได้ หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้ไปออกรายการทีวีญี่ปุ่นแสดงสามารถทางภาษาจีน สเปน เวียดนาม ตากาลอก เยอรมัน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี นอกจากนี้ คิมยังเป็นนักเรียนรับเชิญในชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Hanyang ตั้งแต่อายุ 3-6 ขวบ จนกระทั่งอายุ 7 ขวบ นาซาได้เชิญเขาไปอเมริกาและเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโคโรลาโด พร้อมกับเริ่มทำงานวิจัยที่นาซาไปด้วย ในปี 1974 (พ.ศ. 2517) จนได้ปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ ก่อนที่เขาจะมีอายุครบ 15 ปีเสียอีก
 

3. พอล อัลเลน วัย 59 ปี (IQ: 170)

พอล อัลเลน เป็นคู่หูผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ร่วมกับ บิล เกตส์ เขายังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดลำดับที่ 48 ตามการจัดอันดับความมั่งคั่งที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ...ไม่เพียงเท่านี้ เขายังเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและเป็นประธานของ วัลแคน อิงค์ มีพอร์ตการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ ที่รวมถึงบริษัทเอฟรีและกิสต์ นอกจากนี้ พอล อัลเลน ยังเป็นเจ้าของสองทีมกีฬาอาชีพ ซึ่งได้แก่ ซีแอตเทิล ซีฮอว์ค ของเอ็นเอฟแอล (NFL) และพอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส ของเอ็นบีเอ (NBA) และที่สำคัญแม้จะเห็นได้ว่าเขามีรายได้มากมายมหาศาล แต่เขาก็เป็นนักการกุศลชาวอเมริกันตัวยงคนหนึ่งเช่นกัน
 

4. ริค รอสเนอร์ วัย 52 ปี (IQ: 192)

ริชาร์ด จี รอสเนอร์ หรือ ริค รอสเนอร์ ผู้เขียนบทโทรทัศน์ ทำงานกับ จิมมี่ คิมเมล แต่ดูเหมือนว่าเขาคนนี้จะเป็นอัจฉริยะที่แปลกกว่าพวกเสียหน่อย เพราะในความจริงแล้วเมื่อพลิกดูประวัติการทำงานของเขา ก็พบว่า ริค เคยเป็นนักเต้นระบำเปลื้องผ้า พนักงานเสิร์ฟติดล้อ เป็นยาม แล้วก็ยังเป็นนายแบบนู้ดอีกด้วยนะ

 
5. แกรี่ คาสปารอฟ วัย 49 ปี (IQ: 190)
แกรี่ คาสปารอฟ ชาวรัสเซีย เชื้อสายยิว-อาร์เมเนีย เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักหมากรุกสากลที่เก่งที่สุดในโลกตั้งแต่เคยมีเกมนี้มา แกรี่ คาสปารอฟ ครองแชมป์โลกหมากรุกสากลในปี พ.ศ. 2528 - 2543 ก่อนจะประกาศอำลาวงการหมากรุกสากลอย่างเป็นทางการและผันตัวเองไปเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี พ.ศ. 2548 เขามีสไตล์การเล่นหมากรุกที่เน้นไปในทางการใช้กลยุทธ์ที่แยบยล พิสดาร และลึกล้ำเป็นหลัก ปัจจุบัน แกรี่ คาสปารอฟ เขียนตำราและบทวิเคราะห์ทางหมากรุกสากลไว้หลายเล่ม ซึ่งล้วนทรงคุณค่ามหาศาลต่อวงการหมากรุกและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบปัญญาประดิษฐ์

 
6. เซอร์ แอนดรูว์ วิลลิส วัย 59 ปี (IQ: 170)

เซอร์ แอนดรูว์ วิลลิส นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ สามารถแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากที่สุดในโลกได้ นั่นคือ ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ (Fermat's Last Theorem) ซึ่งเป็นทฤษฎีบทที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ ตลอดระยะเวลา 358 ปี ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ถูกต้องเลย

 

7. จูดิต โพลการ์ วัย 35 ปี (IQ: 170)

จูดิต โพลการ์ หญิงสาวผู้ซึ่งเป็นยอดฝีมือหมากรุกฝ่ายหญิง จากการอบรมฝึกฝนจากพ่อในการเล่นหมากรุกตั้งแต่วัยเยาว์ ในที่สุดเธอก็สามารถเอาชนะพ่อได้ตั้งแต่อยู่ในวัยเพียง 5 ขวบเท่านั้น และที่ยิ่งไปกว่านั้น จูดิต โพลการ์ ยังสามารถเอาชนะได้ถึงระดับแกรนด์มาสเตอร์ ตั้งแต่อายุเพียง 15 ปี ทำลายสถิติโลกเดิมที่ผู้ชายทำไว้ก่อนหน้าลงอย่างราบคาบ



 
8. คริสโตเฟอร์ ฮิราตะ วัย 30 ปี (IQ: 225)

คริสโตเฟอร์ ฮิราตะ เป็นอีกหนึ่งหนุ่มผู้มีไอคิวสูงเป็นเลิศ เขาได้เข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือ แคลเทค ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแถวหน้าในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อายุ 14 ปี หลังจากนั้น ขณะที่เขาอายุ 16 ปี เขายังได้ร่วมบุกเบิกดาวอังคารร่วมกับองค์การนาซา ก่อนที่จะได้รับปริญญาเอกสาขาดาราศาสตร์ฟิสิกส์เมื่ออายุ 22 ปี

 

9. เทอเรนซ์ เต๋า วัย 36 ปี (IQ: 230)

เทอเรนซ์ เต๋า เดิมเป็นชาวออสเตรเลีย (ต่อมาได้รับสัญชาติอเมริกันอีกสัญชาติหนึ่ง) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เมื่ออายุ 20 ปี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ UCLA เมื่ออายุเพียง 24 ปี ทำให้เขาเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ของสถาบันดังกล่าว ทั้งนี้เขายังได้แสดงอัจฉริยภาพอันน่าทึ่งมาตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น เป็นผู้อายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับเหรียญทองในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ เมื่ออายุ 13 ปี

 

10. เจมส์ วู้ดส์ วัย 65 ปี (IQ: 180)

เจมส์ วู้ดส์ สามารถทำข้อสอบ SAT เป็นข้อสอบมาตรฐานสำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ในส่วนของข้อสอบการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้ 779 คะแนน และ Verbal 800 คะแนน หลังจากนั้นเขาก็ได้เข้ามาเป็นครูสอนวิชาพีชคณิต ที่ UCLA ในขณะที่กำลังเรียนไฮสคูลอยู่