ที่มาของบิดาแห่งนาโนเทคโนโลยี
ในการประชุมประจำปีของสมาคมฟิสิกส์แห่งอเมริกา (American
Physical Society) ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 12
ธันวาคม ค.ศ. 1959 ไฟยน์แมนได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “ข้างล่างยังมีที่ว่างอีกเยอะ” (There’s
Plenty of Room at the Bottom: An Invitation to a New Field of Physics) ปาฐกถาของเขาในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในวารสาร
Engineering and Science ของ Caltech
ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1960
เนื้อหาของคำบรรยายกล่าวถึงศักยภาพของสิ่งที่เล็กลงไปอีกในวิชาฟิสิกส์
และมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ครั้งยิ่งใหญ่
สิ่งที่ไฟยน์แมนได้กล่าวถึงในวันนั้นเมื่อเกือบห้าสิบปีที่แล้ว
ได้กลายมาเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันเรียกขานกันว่า “นาโนเทคโนโลยี”นั่นเอง
ตัวอย่างคำพูดอมตะที่ไฟยน์แมนได้กล่าวไว้ในการปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนั้น
ได้แก่
“สิ่งที่ผมต้องการจะพูดในวันนี้คือ
ปัญหาของการทำและควบคุมสิ่งที่อยู่ในมาตราขนาดเล็ก พอผมเริ่มพูดเรื่องนี้
สองหูของผมก็อื้ออึงไปด้วยข่าวสารที่ผู้คนพยายามกรอกหูผมเกี่ยวกับการย่อระบบให้เล็กลง
และผลงานด้านนี้ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว
พวกเขาบอกผมเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งมีขนาดเท่ากับเล็บบนนิ้วก้อยของคุณ
หรืออุปกรณ์ที่มีขายในท้องตลาดซึ่งคุณสามารถใช้เขียนบทสวดมนต์ลงบนหัวเข็มหมุดได้
แต่ขอให้ผมบอกคุณว่า เมื่อเทียบกับระดับความเล็กที่ผมคิดสิ่งที่พวกเขาพูดมานั้น
ไม่มีความหมายเลย
มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของสิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้นั่นคือโลกขนาดเล็กที่อยู่เบื้องล่างต่อไปอีก
ในปี ค.ศ.2000 เมื่อหวนกลับมาดูวันนี้ พวกเขาก็คงจะสงสัยว่า
ทำไมจึงไม่มีใครลงมือคิด หรือทำอะไร อย่างจริงจังเลยในเรื่องนี้ จนถึงปี
ค.ศ.1960”
“ที่ระดับอะตอมหรือเล็กกว่านั้น เรามีแรงชนิดใหม่ มีความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
และผลหรือปรากฏการณ์ใหม่ๆ มากมาย
ปัญหาของการผลิตหรือการสร้างวัสดุจะแตกต่างไปจากปัจจุบัน
ผมรู้สึกประทับใจและได้รับแรงบัลดาลใจจากปรากฎการณ์เชิงชีววิทยาซึ่งแรงทางเคมีมีบทบาทที่สำคัญในหลายๆ
ปรากฏการณ์ และทำให้เกิดผลที่น่าประหลาดใจต่าง ๆ มากมาย
“ตัวอย่างของระบบชีววิทยาเกี่ยวกับการเขียนข้อมูลสารสนเทศในมาตราเล็กทำให้ผมคิดถึงบางสิ่งบางอย่างที่เป็นไปได้
ชีววิทยาไม่ใช่เป็นเพียงการบันทึกข้อมูลสารสนเทศเท่านั้น
แต่ยังเกี่ยวข้องกับกลไกการทำบางสิ่งบางอย่างอีกด้วย ระบบชีววิทยานั้นอาจเล็กมากๆ
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเองก็มีขนาดที่เล็กมาก แต่มันก็มีชีวิตและทำงานตลอดเวลา
เซลล์เหล่านี้สร้างสารเคมีหลายชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิต
เซลล์เหล่านี้สร้างสารเคมีหลายชนิดที่จำเป็นต่อการมีชีวิต เซลล์มีการเคลื่อนที่
ม้วนตัว ยืดตัว และทำสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆ ได้ ในมาตราระดับเล็กมาก ๆ
ระบบชีววิทยาก็ยังสามารถเก็บข้อมูลสารสนเทศเอาไว้ได้มากมาย
แล้วทำไมนักวิทยาศาสตร์จึงไม่คิดผลิตสิ่งซึ่งสามารถทำทุกอย่างในระดับเล็กจิ๋วมาก ๆ
อย่างนี้บ้าง?
“เท่าที่ผมมีความรู้ขณะนี้ หลักการต่าง
ๆของฟิสิกส์ไม่ขัดกับความเป็นไปได้ของโอกาสที่เราจะจับอะตอมมาเรียงกันในลักษณะต่าง
ๆ ทีละอะตอม สิ่งที่ผมพูดไม่ใช่ความพยายามที่จะฝ่าฝืน หรือคัดค้านกฎพื้นฐานใด ๆ
มันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยหลักการ แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่มีใครทำได้เพราะเรา
‘ใหญ่’ “เกินไป”
ตัวอย่างคำพูดที่กล่าวมานี้
จะมีใครโต้แย้งหรือไม่ว่าความคิดของไฟยน์แมนเหล่านี้มิได้เป็นคำถามที่ชี้นำไปสู่การเปิดประตูเข้าสู่โลกแห่งนาโนเทคโนโลยีในปัจจุบัน? และในปี ค.ศ.1959 ที่ไฟยน์แมนได้กล่าวถึงเรื่องความเป็นไปได้ต่างๆ
ที่เกิดจากฟิสิกส์ในระดับที่เล็กมากๆ นี้ เป็นช่วงเวลาทีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(personal computer) หรือ pc
ยังไม่เกิดขึ้นเลย
นั่นแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะและการมีวิสัยทัศน์อันยาวไกลของ ริชาร์ด
ไฟยน์แมนได้เป็นอย่างดี
และก่อนที่ไฟยน์แมนจะเสียชีวิตเขาได้กล่าวประโยคสุดท้ายที่เป็นอมตะของเขาไว้ว่า
“I’d hate die twice. It’s so boring”
(ผมเกลียดที่จะต้องตายถึงสองครั้งสองครา
มันช่างน่าเบื่อหน่ายจริงๆ)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1.
Feynman,Richard. 1988.What Do You Care What
Other People Think? New York: Norton.P.59
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น