สมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน เผย 7 วิชาชีพ ที่สามารถทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ทั้ง ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน
จากที่จะมีการรวมตัวของประเทศในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ เป็น Asean Economics Community (AEC) เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน มีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone โดยมีผลประโยชน์ อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนทำจะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว) โดยอาเซียนจะรวมตัวเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างจริงจังในวันที่ 1 มกราคม 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ได้มีการกำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญได้อย่างเสรี โดยเบื้องต้นได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ ได้แก่
– อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
- อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
- อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
- อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
- อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
- อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
- อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสายวิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อย ทั้งในด้านการที่คนไทยไปทำงานที่ต่างประเทศ และการที่คนต่างประเทศมาทำงานในไทย เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้
ข้อมูลจาก สมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน ,
mthai , kapook
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น