วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

"ไมเกรน" (Migraine)


เอาชนะโรค "ไมเกรน" โดยไม่ต้องกินยา !?/ โดย ปานเทพ  พัวพงษ์พันธ์  "ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว  ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการปวดที่ไวต่อแสงหรือเสียงก็ได้  อาการปวด หัวแบบ ไมเกรน จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุบๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตา และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเวลาหายปวดจะหายสนิท และบางคนเวลามีอาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด  คนที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้้อ บริเวณบ่า และ มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร (Trigger Point) บริเวณ บ่า ต้นคอ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถเลือดและออกซิเจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังศีรษะได้เต็มที่ เมื่อเลือดไม่สามารถส่งขึ้นไปเลี้ยงที่ศีรษะ 2 ข้างไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการปวดศีรษะข้างเดียว ที่เรียกว่าไมเกรน  คนที่ทำงานในสำนักงาน และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆเป็นประจำ มีโอกาสที่จะเกิด Trigger Point ด้านขวาได้บ่อย และเป็นผลทำให้ปวดหัวไมเกรนซีกขวาได้   คนจำนวนไม่น้อยเลือกหยุดอาการไมเกรนด้วยการับประทานยา ซึ่งแม้จะได้ผลในการปวดครั้งนั้น แต่การทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอยังมีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไตอีกด้วย หลอดเลือดอักเสบ ทำให้เมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจะเกิดอาการปวดอีกด้วย ถ้าใช้ยาประเภทนี้บ่อยๆจะเกิดโรคลูกโซ่ตามมาจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ในวันข้างหน้าแน่นอน  ยาแก้ปวดไมเกรน ทุกชนิดมีผลต่อตับอย่างแต่นอน เมื่อตับทำงานหนักและเสื่อมลง ย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งย่อมให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกหลายโรค  ข้อสำคัญการรับประทานยาแก้ปวดประเภทไมเกรนเป็นประจำ จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในการปวดครั้งๆต่อๆไปมากขึ้น และต้องพึ่งยาที่มากขึ้นหรือแรงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจปวดจนถึงขั้นต้องพึ่งยาฉีดเข้าเส้นเลือดประเภทมอร์ฟีนหรือสเตอรอยด์เข้าไปด้วย  ความจริงแล้วการกินยาเป็นเพียงการรักษาปลายอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ จุดกดเจ็บที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Trigger point ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นกล้ามเนื้อพังผืดเป็นวงกว้างมากขึ้นและหนามากขึ้น จากการรักษาด้วยการพึ่งพายาแก้ปวดไมเกรน และอาการไมเกรนก็จะหนักมากขึ้น และรักษายากขึ้นด้วย  ด้วยเหตุผลนี้คนที่รักษาโรคไมเกรนจำนวนหนึ่ง จึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ Trigger Point ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด  ถ้าจะสังเกตให้ง่ายก็คือจุด Trigger Point จะอยู่บริเวณบ่าเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่นูนออกมา หากกดลงจะมีลักษณะแข็งจึงจำเป็นต้องกดจุดเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงหรือนิ่มลง บางครั้งก้อนที่แข็งมากอาจจำเป็นต้องลงศอกเสียด้วยซ้ำ  โดยเฉพาะการกดค้างศีรษะด้านบนค่อนไปข้างหน้า กดด้านที่ปวดห่างจากเส้นกึ่งกลางมา 1 นิ้ว กดค้างให้ลึก 10 วินาทีต่อครั้งแล้วปล่อยทำหลายๆครั้งจะหยุดได้แบบฉับพลัน แม้ว่าการปวดนั้นจะลามมาถึงการปวดที่เบ้าตาแล้วก็ตาม  นอกจากนี้ หลายคนที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาก็ใช้วิธีอื่น เช่น การราดน้ำศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที, การแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา, การรีบนอนให้เร็วโดยทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ ฯลฯ  ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการหยุดอาการปวดที่ทรมานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ที่กล่าวมาก็ยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงการหยุด"ปลายอาการ" เท่านั้น!!!    เพราะโรคไมเกรนของคนส่วนใหญ่มักไม่ได้เกิดขึ้นในตอนวัยเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมพันธุ์ แต่มักจะเกิดขึ้นเมื่อโตมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายนอก ได้หลายอย่าง เช่น  1.อาหาร พบว่าอาหารหลายชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้มาก  เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อคโกแลต ไวน์แดง เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วบางชนิด กล้วยสุกงอม ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส แอสปาแตม รวมถึงสารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรนได้ด้วย เช่น สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม  คนส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนแล้วงดอาหารที่กล่าวมาข้างต้นมักมีอาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด!  2.       ระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น  3.     สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ (รวมถึงการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน) และอดอาหาร เป็นต้น  4.   การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้  5.   สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น  6.   ยาและสารเคมีบางชนิด ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรน ไซนัส จำนวนมากมีประวัติกินยาแก้อักเสบ ยากแก้แพ้ และ ยาลดน้ำมูกเป็นประจำ จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองส่วนหนึ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ และเกิดจากสภาวะแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง  ดังนั้นเมื่อโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขที่ตรงจุดจึงย่อมไม่ใช่การรับประทานยาแก้ปวด แต่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเองน่าจะถูกต้องกว่า  หรือไม่ก็ต้องรู้จักปรับสมดุลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้  แต่หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้และต้องการหายขาด เท่าที่ได้พบเห็นก็ดูเหมือนว่าการรักษายังคงมีอีกหลายวิธีที่เป็นการแพทย์ทางเลือก เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัด, การฝังเข็ม, การดีท็อกซ์, การรับประทานอาหารสมดุลร้อน-เย็น, การล้างพิษตับ, การนั่งสมาธิ ฯลฯ ด้วยพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้โรคปวดหัว ไมเกรนนับวันจะมีคนเป็นมากขึ้น เป็นโรคที่ปวดแล้วทรมาน หากรู้จักแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา ก็จะพบว่าความถี่ในการเกิดโรคไมเกรนจะค่อยๆทิ้งช่วงนานขึ้น ปวดน้อยลง และหายได้ในที่สุด ผมเป็นคนหนึ่งที่ปวดไมเกรนมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี รักษามาแล้วหลายวิธี ใช้ยาแรงมาแล้วก็มาก แต่พึ่งจะหายจากโรคนี้ได้โดยไม่มีอาการแม้แต่วันเดียวในปีนี้ และเป็นปีแรกที่ไม่ต้องอาศัยยาเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ก็ด้วยการใช้แนวทางธรรมชาติบำบัดของชาวสันติอโศกควบคู่ไปกับการหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์  แม้ความจริงจะมีรายละเอียดอยู่มากในการอธิบายเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ขอเขียนอธิบายมาโดยสรุปพอสังเขปให้เหมาะกับพื้นที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ช่วยกันทำบุญแบ่งปันข้อมูลนี้ เพื่อคลายทุกข์ให้กับคนที่ทรมานจากโรคนี้ต่อไป  “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐโดยแท้!!!

"ไมเกรน" (Migraine) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดซึ่งอาจจะมีอาการเป็นครั้งคราว

ลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4 - 72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการปวดที่ไวต่อแสงหรือเสียงก็ได้

อาการปวด หัวแบบ ไมเกรน จะมีตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน อาจจะมีอาการปวดตุบๆ แถวขมับ หรืออาจจะจะปวดบริเวณเบ้าตา และอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการปวด ไมเกรนเวลาหายปวดจะหายสนิท และบางคนเวลามีอาการปวด ไมเกรน มักจะมีอาการนำมาก่อนที่จะเกิดอาการปวด เรียก Aura อาจจะเห็นแสงแวบ แสงจ้า ตาพร่ามัว ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ ก่อนจะมีอาการปวด

คนที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่จะพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้้อ บริเวณบ่า และ มีจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งจนเป็นก้อนเล็กๆ 0.5 - 1.0 เซนติเมตร (Trigger Point) บริเวณ บ่า ต้นคอ ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถเลือดและออกซิเจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังศีรษะได้เต็มที่ เมื่อเลือดไม่สามารถส่งขึ้นไปเลี้ยงที่ศีรษะ 2 ข้างไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการปวดศีรษะข้างเดียว ที่เรียกว่าไมเกรน คนที่ทำงานในสำนักงาน และนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆเป็นประจำ มีโอกาสที่จะเกิด Trigger Point ด้านขวาได้บ่อย และเป็นผลทำให้ปวดหัวไมเกรนซีกขวาได้

คนจำนวนไม่น้อยเลือกหยุดอาการไมเกรนด้วยการับประทานยา ซึ่งแม้จะได้ผลในการปวดครั้งนั้น แต่การทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอยังมีผลข้างเคียงต่อ กระเพาะอาหาร ตับ และไตอีกด้วย หลอดเลือดอักเสบ ทำให้เมื่อหลอดเลือดขยายตัวแล้วจะเกิดอาการปวดอีกด้วย ถ้าใช้ยาประเภทนี้บ่อยๆจะเกิดโรคลูกโซ่ตามมาจากการใช้ยาแก้ปวดประเภทนี้ในวันข้างหน้าแน่นอน

ยาแก้ปวดไมเกรน ทุกชนิดมีผลต่อตับอย่างแต่นอน เมื่อตับทำงานหนักและเสื่อมลง ย่อมทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ซึ่งย่อมให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้อีกหลายโรค

ข้อสำคัญการรับประทานยาแก้ปวดประเภทไมเกรนเป็นประจำ จะทำให้เกิดอาการรุนแรงในการปวดครั้งๆต่อๆไปมากขึ้น และต้องพึ่งยาที่มากขึ้นหรือแรงขึ้นไปอีก จนบางครั้งอาจปวดจนถึงขั้นต้องพึ่งยาฉีดเข้าเส้นเลือดประเภทมอร์ฟีนหรือสเตอรอยด์เข้าไปด้วย

ความจริงแล้วการกินยาเป็นเพียงการรักษาปลายอาการเท่านั้น ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุ จุดกดเจ็บที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Trigger point ไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นกล้ามเนื้อพังผืดเป็นวงกว้างมากขึ้นและหนามากขึ้น จากการรักษาด้วยการพึ่งพายาแก้ปวดไมเกรน และอาการไมเกรนก็จะหนักมากขึ้น และรักษายากขึ้นด้วย

ด้วยเหตุผลนี้คนที่รักษาโรคไมเกรนจำนวนหนึ่ง จึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด หรือนวดกดจุดลดขนาดพังผืดบริเวณบ่า และกดเพื่อทำให้จุดกดเจ็บ Trigger Point ให้มีขนาดลดลง ตลอดจนกดจุดบริเวณบ่า คอ ไหล่ และบริเวณศีรษะด้านที่ปวด

ถ้าจะสังเกตให้ง่ายก็คือจุด Trigger Point จะอยู่บริเวณบ่าเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่นูนออกมา หากกดลงจะมีลักษณะแข็งจึงจำเป็นต้องกดจุดเหล่านี้ให้มีขนาดเล็กลงหรือนิ่มลง บางครั้งก้อนที่แข็งมากอาจจำเป็นต้องลงศอกเสียด้วยซ้ำ

โดยเฉพาะการกดค้างศีรษะด้านบนค่อนไปข้างหน้า กดด้านที่ปวดห่างจากเส้นกึ่งกลางมา 1 นิ้ว กดค้างให้ลึก 10 วินาทีต่อครั้งแล้วปล่อยทำหลายๆครั้งจะหยุดได้แบบฉับพลัน แม้ว่าการปวดนั้นจะลามมาถึงการปวดที่เบ้าตาแล้วก็ตาม

นอกจากนี้ หลายคนที่พยายามจะหลีกเลี่ยงการรับประทานยาก็ใช้วิธีอื่น เช่น การราดน้ำศีรษะด้วยน้ำเย็นต่อเนื่องกัน 5 -10 นาที, การแปะด้วยถุงเจลแช่เย็น (Cold Pad) บริเวณหน้าผากและเบ้าตา, การรีบนอนให้เร็วโดยทันทีเมื่อเริ่มมีอาการ ฯลฯ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการหยุดอาการปวดที่ทรมานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ที่กล่าวมาก็ยังไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงการหยุด"ปลายอาการ" เท่านั้น!!!

เพราะโรคไมเกรนของคนส่วนใหญ่มักไม่ได้เกิดขึ้นในตอนวัยเด็ก และไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมพันธุ์ แต่มักจะเกิดขึ้นเมื่อโตมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยภายนอก ได้หลายอย่าง เช่น

1.อาหาร พบว่าอาหารหลายชนิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้มาก เช่น นมวัว เนย ชีส ช็อคโกแลต ไวน์แดง เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วบางชนิด กล้วยสุกงอม ชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน น้ำตาลเทียม ผงชูรส แอสปาแตม รวมถึงสารที่แต่งอาหารบางชนิดก็มีผลเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ ไมเกรนได้ด้วย เช่น สารไนไตรด ไนเตรด ซึ่งจะพบในอาหารพวก เบคอน ไส้กรอก ซาเซมิ แฮม

คนส่วนใหญ่ที่เป็นไมเกรนแล้วงดอาหารที่กล่าวมาข้างต้นมักมีอาการไมเกรนลดลงอย่างเห็นได้ชัด!

2. ระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น

3. สภาพร่างกาย สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม มีลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่องนานๆ (รวมถึงการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน) และอดอาหาร เป็นต้น

4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้

5. สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น

6. ยาและสารเคมีบางชนิด ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepine เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่ปวดหัวไมเกรน ไซนัส จำนวนมากมีประวัติกินยาแก้อักเสบ ยากแก้แพ้ และ ยาลดน้ำมูกเป็นประจำ
จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของเราเองส่วนหนึ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ และเกิดจากสภาวะแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง

ดังนั้นเมื่อโรคนี้เกิดจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขที่ตรงจุดจึงย่อมไม่ใช่การรับประทานยาแก้ปวด แต่ต้องพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับตัวเองน่าจะถูกต้องกว่า

หรือไม่ก็ต้องรู้จักปรับสมดุลให้เหมาะสมกับพฤติกรรมและสภาวะแวดล้อมที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

แต่หลายคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้และต้องการหายขาด เท่าที่ได้พบเห็นก็ดูเหมือนว่าการรักษายังคงมีอีกหลายวิธีที่เป็นการแพทย์ทางเลือก เช่น การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัด, การฝังเข็ม, การดีท็อกซ์, การรับประทานอาหารสมดุลร้อน-เย็น, การล้างพิษตับ, การนั่งสมาธิ ฯลฯ
ด้วยพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป ทำให้โรคปวดหัว ไมเกรนนับวันจะมีคนเป็นมากขึ้น เป็นโรคที่ปวดแล้วทรมาน หากรู้จักแนวทางในการป้องกันและรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องใช้ยา ก็จะพบว่าความถี่ในการเกิดโรคไมเกรนจะค่อยๆทิ้งช่วงนานขึ้น ปวดน้อยลง และหายได้ในที่สุด
ผมเป็นคนหนึ่งที่ปวดไมเกรนมาเป็นเวลาเกือบ 15 ปี รักษามาแล้วหลายวิธี ใช้ยาแรงมาแล้วก็มาก แต่พึ่งจะหายจากโรคนี้ได้โดยไม่มีอาการแม้แต่วันเดียวในปีนี้ และเป็นปีแรกที่ไม่ต้องอาศัยยาเคมีแม้แต่เม็ดเดียว ก็ด้วยการใช้แนวทางธรรมชาติบำบัดของชาวสันติอโศกควบคู่ไปกับการหาเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์

แม้ความจริงจะมีรายละเอียดอยู่มากในการอธิบายเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ขอเขียนอธิบายมาโดยสรุปพอสังเขปให้เหมาะกับพื้นที่นี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ช่วยกันทำบุญแบ่งปันข้อมูลนี้ เพื่อคลายทุกข์ให้กับคนที่ทรมานจากโรคนี้ต่อไป
เขียนโดย ไพฑูลย์
วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น