คลื่นกล (Mechanical Wave )
การแบ่งประเภทของคลื่น
1. คลื่นตามขวาง (transverse wave)
ลักษณะของ อนุภาค ของ ตัวกลาง เคลื่อนที่ ใน ทิศตั้งฉาก กับทิศ การเคลื่อนที่ ของ คลื่น
เช่น คลื่นผิวน้ำ คลื่นในเส้นเชือก
คลื่นตามขวาง
2.
คลื่นตามยาว (longitudinal wave)
ลักษณะ อนุภาค ของ ตัวกลาง เคลื่อน ที่ ไป มา ใน แนว เดียวกับทิศ การเคลื่อนที่ ของ คลื่น
เช่น คลื่นเสียง
คลื่นตามยาว
ส่วนประกอบของคลื่น
1.สันคลื่น (Crest)
เป็นตำแหน่งสูงสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางบวก จุด
g
2.ท้องคลื่น (Crest)
เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดในทางลบ จุด
e3.แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะการกระจัดมากสุด ทั้งค่าบวกและค่าลบ วัดจากระดับปกติไปถึงสันคลื่นหรือไปถึงท้องคลื่น สัญลักษณ์ A
4.ความยาวคลื่น (wavelength) เป็นความยาวของคลื่นหนึ่งลูกมีค่าเท่ากับระยะระหว่างสันคลื่นหรือท้องคลื่นที่อยู่ถัดกัน หรือระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งบนคลื่นที่ที่เฟสตรงกัน(inphase) ความยาวคลื่นแทนด้วยสัญลักษณ์ Lamda มีหน่วยเป็นเมตร (m) ระยะ xy
5.ความถี่ (frequency) หมายถึง จำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1) หรือ เฮิรตซ์ (Hz) จาก cd โดย f = 1/T
6.คาบ (period) หมายถึง ช่วงเวลาที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านตำแหน่งใด ๆ ครบหนึ่งลูกคลื่น แทนด้วยสัญลักษณ์ มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบ (s/รอบ ) โดย T = 1/f
7.หน้าคลื่น(wave front) เป็นแนวเส้นที่ลากผ่านตำแหน่งที่มีเฟสเดียวกันบนคลื่น เช่นลากแนวสันคลื่น หรือลากแนวท้องคลื่น ตามรูป
รูป
หน้าคลื่นตรง
รูป
หน้าคลื่นวงกลม
อัตราเร็ว
อัตราเร็วในเรื่องคลื่น แบ่งได้ดังนี้
1.
อัตราเร็วคลื่น
หรือเรียกว่าอัตราเร็วเฟส เป็นอัตราเร็วคลื่นที่เคลื่อนที่ไปแบบเชิงเส้น
ซึ่งอัตราเร็วคลื่นกลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน
สมการที่ใช้
2.
อัตราเร็วของอนุภาคตัวกลาง
เป็นการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
โดนสั่นซ้ำรอยเดิมรอบแนวสมดุล ไม่ว่าจะเป็นคลื่นกลชนิดตามขวางหรือตามยาว
สมการที่ใช้
1.อัตราเร็วที่สันคลื่นกับท้องคลื่น เป็นศูนย์
2.อัตราเร็วอนุภาคขณะผ่านแนวสมดุล
มีอัตราเร็วมากที่สุด
3.อัตราเร็วอนุภาคขณะมีการกระจัด y ใดๆ
จากแนวสมดุล
3.
อัตราเร็วคลื่นในน้ำ ขึ้นกับความลึกของน้ำ ถ้าให้น้ำลึก d
จะได้ความสัมพันธ์
การศึกษาวีดีโอ :
1. วีดีโอเปรียบเทียบคลื่นตามขวาง กับคลื่นตามยาว
2. คลื่นผิวน้ำ
การเกิดคลื่นและการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล
อนุภาคตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย ซ้ำรอยเดิมรอบจุดสมดุล
ไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่น
การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแบบนี้เราจะเขียนแทนการเคลื่อนที่ของคลื่นแบบรูปไซน์
( sinusoidal wave ) ซึ่งเราสามารถหาค่าปริมาณต่างๆ ได้ ดังนี้
รูปแสดงการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางขณะคลื่นเคลื่อนที่
ลักษณะการเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย
1.เป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล
(แอมพลิจูด) คงที่
2.เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล)
3.ณ ตำแหน่งสมดุล x หรือ y = 0 , F = 0 , a = 0 แต่ v มีค่าสูงสุด
4.ณ ตำแหน่งปลาย x หรือ y , F , a มีค่ามากที่สุด แต่ v = 0
5.สมการการเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิก
คลื่นรูปไซน์
แสดงการกระจัด y และเฟส
XXXXX1. XXXXXและXXX
XXXXX2. XX และXXX
XXXXX3. XและXXX
7. การเคลื่อนที่แบบซิมเปิ้ลฮาร์มอนิกของ สปริง และลูกตุ้มนาฬิกา
8. ลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่นขณะเวลาต่างๆ(
เมื่อ period หรือ คาบ หมายถึงเวลาครบ 1 รอบ)
9. การบอกตำแหน่งบนคลื่นรูปไซน์ ด้วย เฟส (phase)
เป็นการบอกด้วยค่ามุมเป็นเรเดียน หรือองศา
การระบุเฟสด้วยมุมที่เป็นองศาและมุมเรเดียน
เฟสตรงกันบนคลื่น
จะห่างจากตำแหน่งแรก 1 Lamda , 2 Lamda , 3 Lamda , .....
เฟสตรงกันข้ามกันบนคลื่น
จะห่างจากตำแหน่งแรก 1/2 Lamda , 3/2 Lamda , 5/2 Lamda , ....
ตัวอย่าง
การซ้อนทับกันของคลื่น
เมื่อคลื่น 2 ขบวนผ่านมาในบริเวณเดียวกัน มันจะรวมกัน โดยอาศัยหลักการซ้อนทับของคลื่น ( Superposition principle) การซ้อนทับกันมี 2 แบบ คือแบบเสริม และแบบหักล้าง
1. การซ้อนทับแบบเสริม เกิดจากคลื่นที่มีเฟสตรงกัน เข้ามาซ้อนทับกัน เช่น สันคลื่น+ สันคลื่น หรือท้องคลื่น+ท้องคลื่น ผลการซ้อนทับทำให้แอมปลิจูดเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับผลบวกของแอมปลิจูด คลื่นทั้งสอง
การซ้อนทับกันของคลื่น แบบเสริม |
การซ้อนทับกันของคลื่น แบบหักล้าง |
ภาพเคลื่อนไหวการซ้อนทับกันของคลื่นแบบเสริม |